ใครจะคิดกันล่ะคะว่าวิตามินที่รับประทานกันเข้าไปนั้นจะมีโทษต่อร่างกายด้วย หลายคนคิดว่าขึ้นชื่อว่าวิตามินแล้วกินเข้าไปยังไงก็มีประโยชน์ใช่มั้ยล่ะคะ แต่วิตามินบางตัวก็ต้องมีปริมาณจำกัดที่ควรได้รับต่อวันนะคะ ทางที่ดีก่อนจะเลือกรับประทานอาหารเสริมจำพวกวิตามินก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะคะ มาดูผลเสียของวิตามินต่างๆกันดีกว่าค่ะ
-วิตามินเอ หากเราสะสมวิตามินเอไว้ในร่างกายเกินขีดจำกัด เมื่อรับประทานวิตามินมากเกินความต้องการ วิตามินจะจะสามารถละลายได้ในน้ำมันถึงไม่ถูกขับถ่ายออก แต่จะสะสมไว้เมื่อร่างกายใช้ไม่หมด ปริมาณที่ควรรับประทานตามมาตรฐานสากล คือ 800 ยูนิตสากล ค่ะ
โทษของวิคามินเอจะเริ่มปรากฏอาการต่าง เช่น คลื่นเหียน อาเจียน สายตาพร่ามัว เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ประจำเดือนผิดปกติ
-วิตามินซี ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้งกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม หากเราได้รับวิตามินซีน้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับก็จะเกิดลักปิดลักเปิดซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจากวิตามินซีสามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะอีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทานวิตามินซีแม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 - 18,000 มิลลิกรัม
โทษของวิตามินซี
การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น Copper Seleniumการรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการผิดพลาดของผลตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้
วิตามินซีทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีจึงอาจจะเกิดภาวะได้รับธาตุเหล็กเกิน
-วิตามินอี
เนื่องจากวิตามินอีไม่สามารถละลายในน้ำได้ ร่างกายจึงไม่สามารถขับวิตามินอีออกจากร่างกายได้ทาง ปัสสาวะดังเช่นวิตามินซี หรือวิตามินบี โดยร่างกายจะขับวิตามินอีส่วนเกินบางส่วนออกมาทางอุจจาระ ดังนั้นหากรับประทานวิตามินอีมากเกินไปจะสะสมในร่างกาย นำผลเสียคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไปจนถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรง จึงแนะนำว่าไม่ควรรับประทานอาหารเสริมประเภทวิตามินอีมากเกินกว่า 1,500 IU ต่อวัน
-วิตามินดี
ปกติวิตามินดีมี 2 รูปด้วยกัน คือ
1) วิตามินดี 2 พบได้ในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พวกหอยทาก หนอน
2) วิตามินดี 3 พบได้ในน้ำมันตับปลา น้ำมันปลา
ถ้ากินวิตามินดีเกินขนาด คือ กินมากกว่าความต้องการของร่างกาย 100 เท่า (ความต้องการวิตามินดี
ในทุกอายุคือ 400 หน่วยสากลต่อวัน) จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย และวิตามินดี 3 จะมีพิษแรงกว่าวิตามินดี 2 มากคือ 10-20 เท่า
การกินวิตามินดีเกินขนาดจนทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ เป็นเหตุให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากทางเดิน
อาหารมากกว่าปกติ และเร่งการสลายแคลเซียมจากกระดูก ทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูง(hypercalcernia) ในที่สุดระดับแคลเซียมในเลือดจะเสียสมดุล ผลที่ตามมาคือแคลเซียมและฟอสเฟตจะไปเกาะตามอวัยวะต่าง ๆโดยเฉพาะที่หัวใจ ไต รวมทั้งหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานผิดปกติ
แต่การสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังจะไม่ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ
อาหารวิตามินดี เป็นพิษที่พบได้ คือ เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารปั่นป่วน ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ
เจ็บปวดตามข้อ ปัสสาวะมาก แคลเซียมในเลือดสูง แคลเซียมเกาะตามอวัยวะต่าง ๆ
ปกติวิตามินดีมี 2 รูปด้วยกัน คือ
1) วิตามินดี 2 พบได้ในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พวกหอยทาก หนอน
2) วิตามินดี 3 พบได้ในน้ำมันตับปลา น้ำมันปลา
ถ้ากินวิตามินดีเกินขนาด คือ กินมากกว่าความต้องการของร่างกาย 100 เท่า (ความต้องการวิตามินดี
ในทุกอายุคือ 400 หน่วยสากลต่อวัน) จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย และวิตามินดี 3 จะมีพิษแรงกว่าวิตามินดี 2 มากคือ 10-20 เท่า
การกินวิตามินดีเกินขนาดจนทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ เป็นเหตุให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากทางเดิน
อาหารมากกว่าปกติ และเร่งการสลายแคลเซียมจากกระดูก ทำให้มีแคลเซียมในเลือดสูง(hypercalcernia) ในที่สุดระดับแคลเซียมในเลือดจะเสียสมดุล ผลที่ตามมาคือแคลเซียมและฟอสเฟตจะไปเกาะตามอวัยวะต่าง ๆโดยเฉพาะที่หัวใจ ไต รวมทั้งหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานผิดปกติ
แต่การสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังจะไม่ทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ
อาหารวิตามินดี เป็นพิษที่พบได้ คือ เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารปั่นป่วน ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ
เจ็บปวดตามข้อ ปัสสาวะมาก แคลเซียมในเลือดสูง แคลเซียมเกาะตามอวัยวะต่าง ๆ
-วิตามินเค
ในสัตว์ทดลองยังไม่พบความเป็นพิษของวิตามินเคที่ได้รับจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะให้ขนาดสูงเท่าใด
แต่วิตามินเคที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากแบคทีเรียจะทำให้เกิดพิษได้ถ้าได้รับในขนาดสูง (สูงกว่าความต้องการของร่างกาย 3 เท่า ร่างกายต้องการวิตามินเค 140 ไมโครกรัมต่อวัน) เช่น ทำให้ทารกเกิดภาวะโลหิตจาง น้ำดีคั่งในเลือด และมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองรุนแรง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อกระบวนการออกซิเตชั่น และกดการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมากแต่ถูกทำงานน้อยนี่เองที่จะทำอันตรายต่อเซลล์ปกติ
ในสัตว์ทดลองยังไม่พบความเป็นพิษของวิตามินเคที่ได้รับจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะให้ขนาดสูงเท่าใด
แต่วิตามินเคที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากแบคทีเรียจะทำให้เกิดพิษได้ถ้าได้รับในขนาดสูง (สูงกว่าความต้องการของร่างกาย 3 เท่า ร่างกายต้องการวิตามินเค 140 ไมโครกรัมต่อวัน) เช่น ทำให้ทารกเกิดภาวะโลหิตจาง น้ำดีคั่งในเลือด และมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองรุนแรง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อกระบวนการออกซิเตชั่น และกดการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมากแต่ถูกทำงานน้อยนี่เองที่จะทำอันตรายต่อเซลล์ปกติ
วิตามินบี 1
ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของวิตามินบี 1 ยังมีการศึกษากันน้อยมากทั้งในสัตว์ทดลองหรือในคน
เราก็ตาม การศึกษาส่วนใหญ่ที่ทำการเผยแพร่ถึงความเป็นพิษของวิตามินบี 1 จะเป็นวิตามินบี 1 ในรูปของไทอามีนไฮโดรคลอไรด์ที่กินสูงถึง 1,000 เท่าของขนาดที่ใช้ป้องกันการขาด (2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เพราะศูนย์ควบคุมการหายใจจะถูกกดหรือถ้าได้รับวิตามินบี 1 ทางหลอดเลือดดำ ในขนาดที่สูงกว่าปกติ 100 เท่า (ปกติร่างกายต้องการวิตามินบี 1 วันละ 1 มิลลิกรัม) จะทำให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นแพ้ ซีด เกิดอัมพาต หัวใจเต้นผิดปกติ
ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของวิตามินบี 1 ยังมีการศึกษากันน้อยมากทั้งในสัตว์ทดลองหรือในคน
เราก็ตาม การศึกษาส่วนใหญ่ที่ทำการเผยแพร่ถึงความเป็นพิษของวิตามินบี 1 จะเป็นวิตามินบี 1 ในรูปของไทอามีนไฮโดรคลอไรด์ที่กินสูงถึง 1,000 เท่าของขนาดที่ใช้ป้องกันการขาด (2,000 มิลลิกรัมต่อวัน) จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ เพราะศูนย์ควบคุมการหายใจจะถูกกดหรือถ้าได้รับวิตามินบี 1 ทางหลอดเลือดดำ ในขนาดที่สูงกว่าปกติ 100 เท่า (ปกติร่างกายต้องการวิตามินบี 1 วันละ 1 มิลลิกรัม) จะทำให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นแพ้ ซีด เกิดอัมพาต หัวใจเต้นผิดปกติ
วิตามินบี 2 (ไรโบเฟลวิน)
ความเป็นพิษของวิตามินบี 2 นั้นมีน้อยมาก ปัญหาทางสุขภาพที่จะเกิดจากการได้รับเกินขนาดจึง
พบได้ยากหรือไม่พบเลย ถึงแม้จะให้ไรโบเฟลวิน 2-10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในสุนัขและหนูก็ยังไม่พบอาการความเป็นพิษใด ๆ เลย (ร่างกายต้องการวิตามินบี 2 วันละ 1.2 - 1.7 มิลลิกรัม)
ความเป็นพิษของวิตามินบี 2 นั้นมีน้อยมาก ปัญหาทางสุขภาพที่จะเกิดจากการได้รับเกินขนาดจึง
พบได้ยากหรือไม่พบเลย ถึงแม้จะให้ไรโบเฟลวิน 2-10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ในสุนัขและหนูก็ยังไม่พบอาการความเป็นพิษใด ๆ เลย (ร่างกายต้องการวิตามินบี 2 วันละ 1.2 - 1.7 มิลลิกรัม)
-วิตามินบี 3 (ไนอาซีน)
โดยทั่วไปแล้ว ไนอาซีนมีพิษน้อยมาก ต้องให้ขนาดสูงถึง 10-20 เท่าจึงจะเริ่มปรากฏความเป็นพิษ
ในสัตว์ทอลอง ในคนพบว่าจะให้ขนาดสูง ๆ เพื่อใช้ในการรักษาจะมีฤทธิ์ใกล้เคียง คือทำให้เกิดผื่นแดง ลมพิษ ระบบย่อยอาหารถูกรบกวน เช่น อืดอัดแน่นท้อง มีอาการแสบอก แสบกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายการได้รับไนอาซินขนาดสูง ๆ ทำให้เกิด glucose tolerance ยูเรียในเลือดสูง (ร่างกายต้องการไนอาซีนวันละ 13-18 มิลลิกรัม)
โดยทั่วไปแล้ว ไนอาซีนมีพิษน้อยมาก ต้องให้ขนาดสูงถึง 10-20 เท่าจึงจะเริ่มปรากฏความเป็นพิษ
ในสัตว์ทอลอง ในคนพบว่าจะให้ขนาดสูง ๆ เพื่อใช้ในการรักษาจะมีฤทธิ์ใกล้เคียง คือทำให้เกิดผื่นแดง ลมพิษ ระบบย่อยอาหารถูกรบกวน เช่น อืดอัดแน่นท้อง มีอาการแสบอก แสบกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายการได้รับไนอาซินขนาดสูง ๆ ทำให้เกิด glucose tolerance ยูเรียในเลือดสูง (ร่างกายต้องการไนอาซีนวันละ 13-18 มิลลิกรัม)
-วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน)
ความเป็นพิษของวิตามินบี 6 นั้นมีน้อย มีรายงานพบความเป็นพิษของวิตามินบี 6 ถ้าได้รับในปริมาณสูงหลาย ๆ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 วันละ 2 มิลลิกรัม)จะทำให้ประสาทรับสัมผัสสูญเสียหน้าที่ไป มีอาการชัก ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเกิดจากขนาดที่ใช้ในการรักษาที่มากกว่า 50 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่ใช้ยา L-dopa ในการรักษาต้องระมัดระวังการได้รับวิตามินบี 6 เกินขนาด การได้รับวิตามินบี 6 เกินขนาด ในปริมาณ 10-25 มิลลิกรัม จะขัดขวางการทำงานของ L-dopa
ความเป็นพิษของวิตามินบี 6 นั้นมีน้อย มีรายงานพบความเป็นพิษของวิตามินบี 6 ถ้าได้รับในปริมาณสูงหลาย ๆ กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 วันละ 2 มิลลิกรัม)จะทำให้ประสาทรับสัมผัสสูญเสียหน้าที่ไป มีอาการชัก ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเกิดจากขนาดที่ใช้ในการรักษาที่มากกว่า 50 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่ใช้ยา L-dopa ในการรักษาต้องระมัดระวังการได้รับวิตามินบี 6 เกินขนาด การได้รับวิตามินบี 6 เกินขนาด ในปริมาณ 10-25 มิลลิกรัม จะขัดขวางการทำงานของ L-dopa
วิตามินคือ สารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น การเลือกกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอย่างครบถ้วนนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการประชาสัมพันธ์
หนังสือความรู้คู่บ้าน หน้า85 ฉบับพิเศษ4
thaiza.com
นิตยสารหมอชาวบ้าน 195
ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น